Main Points
สำหรับใครที่กำลังสนใจสินเชื่อ เพื่อการอยู่อาศัย หรือสำหรับการลงทุน จำเป็นจะต้องรู้จักกับอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านให้ดีก่อน เนื่องจากจะทำให้สามารถเลือกอัตราดอกเบี้ยที่ดีที่สุดได้ และช่วยลดค่าใช้จ่ายในส่วนดอกเบี้ยได้ไม่น้อย ดังนั้น ในบทความนี้จึงจะมาแนะนำประเภทต่างๆ ของอัตราดอกเบี้ย วิธีการคำนวณ และข้อควรรู้ต่างๆ เพื่อที่จะได้ตัดสินใจได้อย่างละเอียด และรอบคอบมากที่สุด
สินเชื่อบ้านหรือสินเชื่อที่อยู่อาศัย คือ เงินกู้ที่ธนาคาร หรือสถาบันการเงินปล่อยกู้ให้สำหรับบุคคลที่ต้องการเงินก้อนใหญ่เพื่อนำไปซื้อบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์โฮม คอนโด หรือที่อยู่อาศัยประเภทอื่นๆ แต่จะได้วงเงินเท่าไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับการประเมินมูลค่าของที่อยู่อาศัย ไปจนถึงคุณสมบัติของผู้กู้ด้วย
แน่นอนว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการกู้เงิน ก็จะต้องมาพร้อมกับอัตราดอกเบี้ยบ้านด้วย โดยผู้กู้จะต้องชำระเงินคืนให้ธนาคารเป็นงวดๆ เป็นระยะเวลานาน 10 – 40 ปี โดยอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านของแต่ละคนอาจไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ และเงื่อนไขที่ทางธนาคารกำหนด
ก่อนจะไปดูเรื่องการคำนวณดอกเบี้ยบ้าน เราควรรู้จักกับดอกเบี้ยบ้านประเภทต่างๆ ก่อนว่ามีแบบไหนที่ควรรู้จัก เพื่อให้คนที่อยากจะกู้เงินซื้อบ้าน วางแผนการเงินได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
ถ้าหากต้องการกู้เงินเพื่อซื้อบ้าน สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจให้ดี คือ อัตราดอกเบี้ยกู้บ้าน หรืออัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านที่มีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ถึงแม้จะดูเป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อน แต่ก็เป็นเรื่องสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ เพราะจะช่วยให้ผู้กู้วางแผนการเงินได้อย่างละเอียดรอบคอบ และได้รับอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม โดยอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านสามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้
อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านที่กำหนดไว้ให้คงที่ตลอด ตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญากู้ยืมเงิน หรือเข้าใจง่ายๆ ว่าการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ตายตัวเท่าเดิมตลอดช่วงระยะเวลาหนึ่งตามที่ได้ตกลงกับธนาคารเอาไว้ เช่น ได้รับอัตราดอกเบี้ยคงที่เป็นเวลา 3 ปี 5 ปี หรือตลอดอายุสัญญา โดยอัตราดอกเบี้ยคงที่ยังสามารถแบ่งได้อีก 3 ประเภทย่อย ดังนี้
อัตราดอกเบี้ยลอยตัว คือ อัตราดอกเบี้ยที่ไม่ได้มีค่าแน่นอน และไม่ได้ถูกกำหนดว่าจะมีการปรับล่วงหน้า จะผันแปรไปตามภาวะเศรษฐกิจ และอิงตามต้นทุนทางการเงินของธนาคาร และยังไม่กำหนดอีกด้วยว่าจะมีการปรับปีละกี่ครั้ง เป็นหนึ่งในความเสี่ยงที่ทำให้ผู้กู้อาจจะต้องชำระค่าผ่อนจ่ายไม่เท่ากันทุกเดือน อาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ย่อมได้ นอกจากนี้อัตราดอกเบี้ยลอยตัวยังสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทย่อย ดังนี้
ดอกเบี้ยประเภทนี้เป็นอัตราดอกเบี้ยปรับคงที่ใหม่ทุกรอบเวลา เป็นอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดอัตราคงที่ และจะปรับตามรอบเวลาที่แน่นอน เช่น อัตราดอกเบี้ยคงที่ในรอบเวลา 5 ปี แปลว่าในทุก 5 ปีจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยใหม่ตลอดช่วงระยะเวลาการผ่อนชำระ 10–40 ปี โดยอัตราดอกเบี้ยอาจจะเพิ่มขึ้น หรือลดลงก็ได้ ถึงแม้ว่าจะมีการปรับดอกเบี้ย แต่อัตราดอกเบี้ยแบบนี้ก็ช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยในระยะสั้นได้
นอกจากอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ แบบลอยตัว และแบบปรับคงที่ใหม่ทุกรอบเวลาแล้ว ยังมีอัตราดอกเบี้ยแบบผสมอีกด้วย ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบผสมมาจากอัตราดอกเบี้ย 3 แบบข้างต้น เช่น ในช่วง 3 ปีแรก ธนาคารจะเรียกเก็บดอกเบี้ยในอัตราคงที่ ซึ่งอาจจะคงที่เท่าเดิมตลอด 3 ปี หรือคงที่ในรอบ 1 ปี และมีการปรับในปีที่ 2 และปีที่ 3 ก็ได้ ส่วนใหญ่แล้วอัตราดอกเบี้ยที่ดีที่สุดก็มักจะเป็นช่วง 3 ปีแรก และตั้งแต่ปีที่ 4 ขึ้นไป อัตราดอกเบี้ยจะถูกปรับเป็นลอยตัว โดยบางธนาคารอาจจะมีการกำหนดเพดานดอกเบี้ยเอาไว้ด้วย
หลังจากทราบประเภทของอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านกันไปแล้ว การรู้วิธีคำนวณดอกเบี้ยบ้านก็เป็นเรื่องสำคัญในการวางแผนทางการเงินให้แม่นยำมากยิ่งขึ้น แต่เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยในแต่ละปีจะไม่เท่ากัน และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอด จึงควรสอบถามกับทางธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่สนใจโดยตรง เพื่อใช้ประกอบการคำนวณ โดยตัวอย่างวิธีคำนวณดอกเบี้ยบ้านที่จะช่วยให้เห็นภาพมากขึ้น มีดังนี้
สมมติว่าเงินต้นทั้งหมด 2,500,000 บาท ผ่อนชำระเท่ากันทุกเดือน เดือนละ 25,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 5.00% ต่อปี ชำระงวดแรกเดือนมกราคม และในปีนั้นมี 365 วัน
งวดที่ 1 (ชำระเดือนมกราคม)
ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายต่องวด = (เงินต้นคงเหลือ x อัตราดอกเบี้ยต่อปี x จำนวนวันในงวดนั้น) ÷ จำนวนวันใน 1 ปี
= (2,500,000 x 5.00% x 31) ÷ 365 = 10,616.44 บาท
ยอดเงินรวมเมื่อจบงวด = เงินต้นคงเหลือ + ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายต่องวด
= 2,500,000 + 10,616.44 = 2,510,616.44 บาท
จากนั้นนำไปหักค่างวดที่ต้องจ่ายเดือนแรกออก 25,000 บาท เมื่อสิ้นงวดแรกจะเหลือเงินต้นเท่ากับ 2,510,616.44 – 25,000 = 2,485,616.44 บาท
งวดที่ 2 (ชำระเดือนกุมภาพันธ์)
ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายต่องวด = (2,485,616.44 x 5.00% x 28) ÷ 365 = 9,533.87 บาท
ยอดเงินรวมเมื่อจบงวด = 2,485,616.44 + 9,533.87 = 2,495,150.31 บาท
จากนั้นนำไปหักค่างวดที่ต้องจ่ายเดือนที่สองออก 25,000 บาท
เมื่อสิ้นงวดสองจะเหลือเงินต้นเท่ากับ 2,495,150.31 – 25,000 = 2,470,150.31 บาท
การคำนวณดอกเบี้ย MRR สำหรับสินเชื่อบ้านเบื้องต้น โดยสมมติว่าวงเงินกู้ 2,500,000 บาท กำหนดว่า MRR เท่ากับ 7.00% และอัตราดอกเบี้ยปีที่ 1 คงที่อยู่ที่ 5.00% ต่อปี ปีที่ 2 อยู่ที่ MRR-1.25%
คำนวณดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายสำหรับปีที่ 1 ที่อัตราดอกเบี้ย 5.00% = 2,500,000 x 5.00% = 125,000 บาท
อัตราดอกเบี้ยสำหรับปีที่ 2 = MRR-1.25% = 7.00% – 1.25% = 5.75%
ดังนั้น ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายสำหรับปีที่ 2 = 2,500,000 x 5.75% = 143,750 บาท
เมื่อรู้จักกับดอกเบี้ยและวิธีคำนวณดอกเบี้ยบ้านกันไปมากขึ้นแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการพิจารณาและอนุมัติสินเชื่อ ซึ่งทางธนาคาร หรือสถาบันการเงินจะมีหลักเกณฑ์เพื่อประกอบการอนุมัติ รวมถึงวงเงินกู้ที่ธนาคารสามารถปล่อยให้ผู้กู้ได้ ปกติแล้วแต่ละธนาคารจะมีการพิจารณาในเรื่องคุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อ ความสามารถในการผ่อนชำระ และหลักประกันสินเชื่อบ้าน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ธนาคารและสถาบันการเงินจะพิจารณาคุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อ โดยมักจะมีรายละเอียดคล้ายกันคือ จะต้องเป็นผู้มีอายุระหว่าง 20–70 ปี มีอาชีพที่รายได้ค่อนข้างแน่นอน เช่น พนักงานประจำต้องมีเงินเดือนตั้งแต่ 10,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป หรือเจ้าของกิจการต้องมีรายได้ขั้นต่ำ 15,000 บาทต่อเดือน อีกทั้งต้องมีเครดิตหรือประวัติการชำระหนี้ที่ดี
นอกจากนี้ยังมีกรณีกู้ร่วม ธนาคารจะพิจารณาผู้กู้ร่วมด้วย จึงควรจะศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขเพิ่มเติมว่า นอกจากบุคคลในครอบครัว และคู่สมรสแล้ว ธนาคารอนุญาตให้กู้ร่วมกับบุคคลอื่นที่อยู่นอกเหนือจากเงื่อนไขได้หรือไม่
ไม่ใช่แค่เพียงรายรับของผู้กู้สินเชื่อ ธนาคารจะพิจารณาวงเงินกู้จากความมั่นคงของอาชีพ รวมถึงรายรับ และรายจ่ายที่เข้าออกบัญชี เพื่อประเมินความสามารถในการผ่อนชำระดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน เพื่อให้ธนาคารมั่นใจว่าผู้ขอสินเชื่อจะสามารถชำระค่างวดได้ตลอดระยะเวลาในสัญญาเงินกู้
ปัจจัยเหล่านี้จะทำให้ธนาคารจะสามารถพิจารณายอดวงเงินกู้ที่ให้ได้อย่างเหมาะสม โดยมักจะอยู่ที่ประมาณ 30-40 เท่าของรายได้ต่อเดือน เช่น ผู้ที่มีรายได้ 25,000 บาท ต่อเดือน จะกู้ได้วงเงินประมาณ 750,000 – 1,000,000 บาท ทั้งนี้ธนาคารจะต้องพิจารณาสัดส่วนเงินชำระต่องวดเมื่อเทียบกับรายได้ประกอบด้วย ซึ่งทั่วไปจะอยู่ที่ 40–80% ของรายได้ตามแต่เงื่อนไขของธนาคาร
หลักประกันสินเชื่อบ้านเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ธนาคารสามารถนำมาพิจารณาวงเงินกู้ได้เหมือนกัน โดยจะดูความเหมาะสมของหลักประกัน เช่น บ้าน ที่ดินเปล่า อาคารพาณิชย์ คอนโด โดยจะดูมูลค่าตลาดของหลักประกันนั้นๆ ด้วย โดยปกติแล้ววงเงินสินเชื่อสูงสุดจะประมาณ 70–95% ของราคาประเมิน หรือราคาตลาด แล้วแต่ว่าราคาไหนจะต่ำกว่ากัน
นอกจากการคำนวณอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน เพื่อเตรียมตัวให้พร้อม หลักเกณฑ์ที่ควรจะรู้ก่อนขอกู้ซื้อบ้าน ยังมีข้อควรระวังบางจุดที่ควรจะเตรียมตัวไว้ได้ดี เพื่อให้การขอสินเชื่อราบรื่น ไม่มีสะดุด สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามได้แก่
ควรศึกษาเงื่อนไขการกู้อย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อให้การขอสินเชื่อผ่านได้ง่าย และเตรียมเอกสารที่ต้องใช้ไว้ให้พร้อม เช่น บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน หนังสือรับรองเงินเดือน หลักฐานแสดงฐานะการเงิน เอกสารหลักประกัน หลักฐานการเป็นเจ้าของอาคาร และอื่นๆ โดยอย่าลืมทำสำเนาเผื่อไว้ด้วย เผื่อจะต้องยื่นให้กับธนาคาร ก็จะทำได้เลยทันที ไม่ต้องหาร้านถ่ายเอกสารให้เสียเวลา
การวางแผนทางการเงินนับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะถ้าวางแผนค่าใช้จ่ายทั้งหมดไว้ให้ดี การขอสินเชื่อก็จะได้รับการอนุมัติไม่ยาก อีกทั้งยังช่วยลดโอกาสที่การเงินจะสะดุดในระหว่างที่ผ่อนชำระอีกด้วย โดยมีเทคนิคการวางแผนการเงิน ดังนี้
นอกจากการหาโครงการบ้านในวงเงินที่สามารถกู้ได้แล้ว ควรต้องรู้จักโครงการบ้านที่ต้องการให้ดีก่อนซื้อ เพื่อให้ได้บ้านที่สวย ถูกใจ และไม่พบปัญหาต่างๆ ในภายหลัง โดยก่อนซื้อบ้านต้องพิจารณาปัจจัยหลายๆ อย่าง เบื้องต้นมีอะไรบ้างที่ควรดูให้ดี ไปดูกัน
การเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านจะช่วยลดภาระในการผ่อนชำระได้มากขึ้น เนื่องจากบางธนาคารอาจมีเงื่อนไขพิเศษ ที่ช่วยลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านลงไปได้ เช่น บางธนาคารเมื่อทำประกัน หรือสมัครผลิตภัณฑ์เสริมจะได้อัตราดอกเบี้ยที่ลดลง หรือมีอัตราดอกเบี้ยพิเศษสำหรับวงเงินกู้ตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป
ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขในกรณีต่างๆ สามารถมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ดังนั้น ผู้กู้ควรต้องสอบถามทางธนาคารโดยตรง และนำมาเปรียบเทียบด้วยตนเอง
ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัยแบบไหน บ้าน ก็ถือเป็นสถานที่สำคัญ เพื่อให้ทุกคนได้ใช้ชีวิตกันอย่างมีความสุขในทุกวัน ไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย ก็อย่าลืมคำนวณอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านกันไว้ให้ดีก่อนยื่นกู้ และควรจะเลือกโครงการบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์โฮม คอนโดที่ตรงกับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตมากที่สุด โดยดูที่ตัวบ้าน สิ่งอำนวยความสะดวก และพื้นที่ส่วนกลางที่เหมาะกับสมาชิกทุกคนในครอบครัว
Cr. https://www.apthai.com/th/blog/know-how/knowhow-home-loan-interest-rate
บริษัท เวิร์ธ เรียล เอสเตท จำกัด บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่ต้องการพัฒนาที่อยู่อาศัยให้มีคุณภาพสูงที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การอยู่อาศัยแนวใหม่ ที่มีความโดดเด่นในเรื่องของการออกแบบรูปลักษณ์ และการใช้งานแก่ผู้อาศัยได้อย่างลงตัว